Testimonial: Nantira Pookhao

-Lecturer, Hotel & Tourism Studies Department
Faculty of Arts, Siam University
-HDR Candidate (Ph.D. Student), School of Social Sciences and Psychology
University of Western Sydney

“Positive thinking, courage, and believe in one’s strength are the delivered tricks from my coach, Dr. Poll”

The coach introduces me to think positively by practising it himself. Experienced that positive attitude from observing him, I establish to embrace it into my everyday life. Then, I have discovered that my life is accomplished in both academics and spiritual life. I have learnt ‘the law of attraction’ from the coach. For example, if you want to meet a good person, you need to be a good person yourself. And Yes!!! Many great people are in my life now.

My hidden strength and weakness was buried and They was uncovered by my coach, Dr. Poll. Sometime, people try to avoid analysing themselves and it is a good to have someone analysing and directing you what to do or not to do. I have found out that Dr. Poll pulls out my strengths and shape it up. Besides, if you have strength and have no courage to present it, then your strength is dysfunctional. Dr. Poll knows how to drive up the courage of his coachee.

Dr. Poll’s coaching style lay embedded on scientific knowledge, together with spiritual wisdom. Compassion and sincerity make him distinct from others. I do appreciate the way he coached as his cultivation shapes me for who I am today.


นางสาวนันทิรา ภูขาว
-อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
-นักศึกษาปริญญาเอก (HRD Candidate)
มหาวิทยาลัยเวสเทินซีดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย (ทุนจากมหาวิทยาลัยสยาม)

“อาจารย์เอกใส่ใจในทุกๆรายละเอียด วิเคราะห์ทุกย่างก้าว และมองทะลุไปจนถึงจุดสุดท้าย”

ดิฉันรู้จักกับอาจารย์เอกในฐานะอาจารย์กับลูกศิษย์ เป็นเวลาปีครึ่งก่อนที่อาจารย์เอกตัดสินใจลาออกจากการสอนที่มหาวิทยาลัยเวสเทินซีดนีย์ และผันตัวเองไปเดินตามความฝันที่อยากจะแบ่งปันความรู้และความสามารถให้แก่ผู้อื่น

ครั้งแรกที่ได้เห็นและรู้จักอาจารย์ รู้สึกได้ว่าอาจารย์เป็นคนไทยที่เก่ง สามารถยืนต่อสู้กับชาวต่างชาติ ด้วยความสามารถของตนเอง แต่พอได้รู้จักอาจารย์เอกมากยิ่งขึ้นในฐานะผู้สอน(Coach) ที่ไม่ได้เน้นแต่ทางด้านตำรา หรือวิชาการ ก็ยิ่งรู้สึกขอบคุณที่ได้รู้จักกัน

อาจารย์เอกสอนเกี่ยวกับทักษะในการใช้ชีวิต ศิลปะในการติดต่อและประสานงาน ศิลปะในการผ่อนคลาย รวมไปถึงวิธีการมองชีวิตที่เน้น ‘ทางสายกลาง’ ซึ่งการที่ดิฉันใช้ชีวิตแบบที่เคยใช้ การเรียนในระบบการเรียนการสอนของเมืองไทย หรือการเรียนจบปริญญาโทที่ประเทศอังกฤษไม่ได้สอนหรือหล่อหลอมเรื่องพวกนี้ให้แก่ดิฉันเลย บางครั้งดิฉันก็มองอะไรเพียงแค่ส่วนเดียว แต่ในทางกลับกัน อาจารย์เอกสามารถมองดิฉันได้ทะลุปรุโปร่ง อาจารย์คอยแนะนำว่าหากมีปัญหาต้องแก้อย่างไร และการแก้ปัญหาของอาจารย์นั้นจะมีวิธีที่ หนึ่ง สอง และ สาม เสมอ

อาจารย์สอนวิธีการ ‘’น้อบน้อมแต่มีจุดยืนทางความคิด’’ มากกว่าความก้าวร้าวในทางวิชาการ ทั้งนี้เนื่องจากดิฉันเคยทำงานโรงแรมและงานบริการตามสายงานที่เรียนมา ก่อนที่จะผันตัวเองมาเป็นอาจารย์ทางด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยว การทำงานด้านการบริการมาหลายปี หล่อหลอมดิฉันให้กลายเป็น ‘คนบริการ’ โดยอุปนิสัยของคนบริการ เราจะนอบน้อมและเป็นเบี้ยล่างเพราะต้องทำตามความต้องการของลูกค้าในทุกๆกรณี เราจะบูชาเงินและฝรั่งด้วยความคิดที่ว่าฝรั่งให้ทิปเรา เพราะฉะนั้นความเข้มแข็งทางความคิด ได้ถูกบั่นทอนลงเพราะอาชีพที่ทำมาหลายปี ทั้งนี้อาจารย์เอกชี้ให้ดิฉันเห็นจุดอ่อนของตัวเอง ซึ่งดิฉันไม่เคยคิดว่าจุดอ่อนนั้นเป็นปัญหามาก่อน การปรับทัศนคติของดิฉันเป็นเวลาปีกว่าๆ ก็ประสบความสำเร็จ ทุกวันนี้ดิฉันเปรียบตัวเองเหมือนต้นไผ่ ปลิวไปตามลม แต่ไม่ล้ม หรือหัก หากลมพัดแรง เรียกได้ว่าเป็นปรัชญาสำคัญในการใช้ชีวิตของดิฉันกับทุกๆสังคมที่ดิฉันเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย

ดิฉันเป็นคนขี้เกรงใจ ซึ่งคงคล้ายกับอุปนิสัยของคนไทยส่วนมาก น้อยครั้งมากที่จะปฏิเสธผู้อื่น อาจารย์เอกสอนวิธีการคิดวิเคราะห์ โดยใช้หลักเหตุผล ตามหลักพระพุทธศาสนา ว่าแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ดิฉันสมควร ‘ยอมหรือยืนหยัด’ ตามความคิดที่ถูกไตร่ตองด้วยตนเองอย่างดีแล้ว

อาจารย์สอนให้ ‘’ไม่เชื่อ’’ ซึ่งเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้สอนทางด้านทฤษฏี แต่อาจารย์เอกสอนแนวทางการปฏิบัติ อาจารย์เอกแนะนำให้ดิฉันใคร่ครวญหาความจริงก่อนเสมอ เมื่อจะเชื่อใครหรือฟังใคร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นผลมาจากการเรียน ที่เน้นหนักทางด้านหลักการวิจัยนั่นเอง อาจารย์เอกแนะนำวิธีการเรียน การจับประเด็น และการจับใจความ โดยการหาข้อมูลและเปรียบเทียบจากหลายๆตำรา ซึ่งก็สัมพันธ์กับหลักการในการใช้ชีวิตอีกเช่นกัน

อาจารย์เอกจะใส่ใจในรายระเอียดของดิฉันเสมอ โดยเฉพาะ ‘’การสร้างสมดุลในชีวิต เพื่อที่จะแบ่งปัน’’ การที่เราเรียนหนัก เราก็ต้องดูแลสุขภาพ อาจารย์เอกจะแนะนำเสมอว่า เราเรียนเพื่อนำความรู้ไปช่วยเหลือคนอื่นมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง เพื่อพัฒนาสังคมไทย และตอบแทนประเทศชาติ ดังนั้นหากร่างกายและจิตใจเราไม่สมบูรณ์ เราก็จะไม่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้

ท้ายสุดนี้ คำแนะนำต่างๆของอาจารย์นั้น หล่อหลอมให้เป็นดิฉันในวันนี้ ขอขอบคุณ พลังบวก ที่อาจารย์เอกมีให้เสมอ รอยยิ้มและจิต (ใจ) ของอาจารย์เอก ที่หวังให้ผู้อื่นได้ดีและมีความสุขนั้น ทำให้ลูกศิษย์คนนี้ยิ้มได้เสมอเมื่อนึกถึง